ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้แบ่งสื่อการสอนไว้ 3
ประเภท ดังนี้ 1. วัสดุ ได้แก่ สิ่งสิ้นเปลืองทั้งหลาย เช่น รูปภาพ บัตรคำ แผนภูมิ หนังสือ แผ่นโปร่งใส เป็นต้น | ||
2. อุปกรณ์ ได้แก่ บรรดาเครื่องมือทั้งหลาย
ทั้งที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ร่วมกับวัสดุ อื่น และสิ่งที่ใช้ในตัวของมันเอง เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์, เครื่องฉายสไลด์, เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เป็นต้น | ||
3. กิจกรรมหรือวิธีการ
ได้แก ่กระบวนการที่จะใช้ทั้งวัสดุและอุปกรณ์ประกอบกัน
หรือกระบวนการของมันเองล้วนๆ ได้แก่ การสาธิต, กลุ่มสัมพันธ์,์ นิทรรศการ, ทัศนศึกษา,การอภิปราย เป็นต้น | ||
| ||
เจโรม บรุนเนอร์ (Jerome Bruner)
ได้ออกแบบโครงสร้างของกิจกรรมการสอนไว้รูปแบบหนึ่ง
โดยประกอบด้วยมโนทัศน์ด้านการกระทำโดยตรง (Enactive) การเรียนรู้ด้วยภาพ (Iconic)
และการเรียนรู้ด้วยนามธรรม (Abstract)
เมื่อเปรียบเทียบกรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล กับลักษณะสำคัญ 3
ประการของการเรียนรู้ของบรุนเนอร์แล้วจะเห็นได้ว่ามีลักษณะที่ใกล้เคียงและเป็นคู่ขนานกัน
เมื่อพิจารณาจากกรวยประสบการณ์ ของเอดการ์ เดล แล้ว จากขั้นตอนที่ 1- 6
จะเป็นการที่ผู้เรียนเรียนโดยการได้รับประสบการณ์ด้วยตนเองจากการกระทำ
การมีส่วนร่วมในรูปแบบต่างๆ ของประสบการณ์ที่เป็นจริง
และการสังเกตจากของจริงหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
ซึ่งเปรียบเทียบได้กับการเรียนรู้ด้วยการกระทำในขั้นตอนที่ 7-9
เป็นการที่ผู้เรียนสังเกตเหตุการณ์หรือรับประสบการณ์จากการถ่ายทอดโดยสื่อประเภทภาพและเสียง
เช่น จากโทรทัศน์และวิทยุ เป็นต้น เสมือนเป็นการเรียนรู้ด้วยภาพ และใน 2
ขั้นตอนสุดท้าย
เป็นขั้นตอนของการที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากสัญลักษณ์ในรูปแบบของตัวอักษร
เครื่องหมายหรือคำพูด ซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรมมากที่สุด | ||
| ||
| ||
3. อาคารสถานที่ (Settings) หมายถึง ตัวตึก ที่ว่าง สิ่งแวดล้อม ฯลฯ สถานที่สำคัญในการศึกษา ได้แก่ ตึกเรียน และสถานที่อื่นๆที่ออกแบบมาเพื่อการเรียนการสอนโดยส่วนรวม เช่น ห้องสมุด หอประชุม สนามเด็กเล่น ฯลฯ | ||
4.
เครื่องมือและอุปกรณ์(Tools and Equipment)
เป็นทรัพยากรทาง
การเรียนรู้ เพื่อช่วยในการผลิตหรือใช้ร่วมกับทรัพยากรอื่น
ส่วนมากมักเป็นเครื่องมือด้านโสตทัศนูปกรณ์ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เช่น
เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ตะปู ไขควง
เป็นต้น 5. กิจกรรม (Activities) โดยทั่วไปแล้วกิจกรรมที่กล่าวถึง มักเป็นการดำเนินงานที่จัดขึ้นเพื่อกระทำร่วมกับทรัพยากรอื่นๆ หรือเป็นเทคนิคพิเศษเพื่อการเรียนการสอน เช่น การสอนแบบโปรแกรม เกมส์และการจำลอง การจัดทัศนศึกษา เป็นต้น |
วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ประเภทของสื่อการสอน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น